วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Opéra de Lyon


L’opéra de Lyon, dit parfois l’opéra Nouvel, est une salle d’opéra située près de l'hôtel de ville de Lyon, et abritant une salle de représentations affectée principalement à l'opéra national de Lyon qui y fait représenter des opéras, ballets et concerts.

Histoire - - -

À l'emplacement actuel de l'opéra se dressait autrefois le théâtre de Soufflot. Il fut remplacé en 1829 par l'opéra, grâce aux architectes Antoine-Marie Chenavard et Jean-Marie Pollet.

Il a été rénové dans les années 1990 par l'architecte Jean Nouvel, qui a conservé uniquement les murs de pourtour et le salon du premier étage. L'intérieur concilie le moderne (omniprésence du noir, couleur favorite de J. Nouvel) et l'ancien (forme traditionnelle du théâtre à l'italienne).

L'amphithéâtre, en sous-sol, accueille régulièrement de petits concerts et des conférences dans une ambiance plus intimiste.

Le café du péristyle, en façade de l'opéra (face à l'hôtel de ville de Lyon, sur la place de la comédie) accueille des groupes de jazz les soirs d'été.

ไอ้หนุ่มชีกอ +___+

ไอ้หนุ่มชีกอ

สาวใดที่มักถูกผู้ชายชีกอก้อร่อก้อติกอยู่เป็นประจำ ลองเลือกประโยคแสบๆ เหล่านี้ดูสิคะ เลือกเอาไว้ใช้ตีแสกหน้าพวกชีกอดูให้รู้กันเสียบ้างวjา เกิดเป็นหญิงแท้จริงแล้วว่าแสบเพียงไหน?
หนุ่มชีกอ: "เราเคยเจอกันมาก่อนรึเปล่าครับ?"
สาวแสบ : "เคยค่ะ เดี๊ยนเป็นพนักงานต้อนรับอยู่ที่คลีนิคกามโรคไงคะ"
หนุ่มชีกอ: "ผมเคยเห็นคุณที่ไหนมาก่อนรึเปล่าเนี่ย?"
สาวแสบ : "คงงั้นมั้งคะ ชั้นถึงไม่เคยไปที่นั่นอีกเลยไง"

หนุ่มชีกอ: "ที่นั่งตรงนี้ว่างมั้ยครับ?"
สาวแสบ : "ว่างค่ะ และที่ของเดี๊ยนก็จะว่างด้วยนะคะถ้าคุณจะนั่งล่ะก็"

หนุ่มชีกอ: "จะไปบ้านคุณหรือบ้านผมดี?"
สาวแสบ : "ทั้งสองหลังเลยดีกว่าค่ะ คุณไปบ้านคุณ ชั้นก็ไปบ้านชั้น"

หนุ่มชีกอ: "ผมอยากโทร.ไปหาคุณจังเลย เบอร์อะไรครับ?"
สาวแสบ : "มันก็อยู่ในสมุดโทรศัพท์ไงคะ"
หนุ่มชีกอ: "แต่ผมไม่รู้จักชื่อคุณนี่?"
สาวแสบ : "นั่นก็อยู่ในสมุดโทรศัพท์เหมือนกันค่ะ"

หนุ่มชีกอ: "งั้นคุณทำมาหากินอะไรครับ?"
สาวแสบ : "เดี๊ยนปลอมตัวเป็นผู้หญิงค่าาาา"

หนุ่มชีกอ: "ผมรู้วิธีที่จะปฏิบัติต่อผู้หญิงหรอกน่า"
สาวแสบ : "งั้นก็กรุณาอย่ามาวุ่นวายกับเดี๊ยนนะคะ"

หนุ่มชีกอ: "ถ้าหากผมได้เห็นคุณเปลือยเปล่า ผมคงตายอย่างมีความสุข
สาวแสบ : "งั้นเชียว แต่ถ้าชั้นได้เห็นคุณล่อนจ้อนนะชั้นคงได้ตายอย่างขำก ลิ้งแน่เลย"

หนุ่มชีกอ: "ผมจะยอมทำทุกอย่างเพื่อคุณ"
สาวแสบ : "อุ๊ย ดีค่ะ เราเริ่มกันที่บัญชีธนาคารของคุณเลยเป็นไงคะ"

หนุ่มชีกอ: "ผมอยากถวายตัวให้กับคุณนะ"
สาวแสบ : "เสียใจนะคะ เดี๊ยนไม่รับของขวัญถูกๆ ค่ะ"

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

มื้ออาหาร...กับผม

Repas
Un repas est un moment spécifique, dans le cycle des activités journalières, consacré à l'alimentation. Dans les sociétés humaines, le repas est généralement ritualisé.
La grande majorité des cultures distingue plusieurs types de repas, selon le moment de la journée et la quantité d'aliments qu'ils comportent, les plus importants correspondant aux moments de convivialité les plus intenses et possédant une forte charge symbolique et ou religieuse.
La quantité d'aliments varie selon le repas, et les nutritionnistes recommandent des apports en calories, vitamines, protéines, lipides, glucides et fibres qui correspondent à l'activité physique et intellectuelle que l'on devra fournir avant le prochain repas. En moyenne, le premier repas de la journée doit apporter 25 % des quantités nécessaires, le repas du milieu de journée doit en apporter presque la moitié, et le dernier repas peut être plus léger pour faciliter la digestion pendant le sommeil.
Matin






Le premier repas de la journée est généralement pris peu après le réveil. Appelé déjeuner en Belgique, au Canada, en Suisse et dans le nord et le nord-est de la France, il prend le nom de petit déjeuner dans le reste de ce pays. Ces dernières années, le petit-déjeuner a tendance à disparaître, ce qui renforce le rôle des deux autres repas principaux.
En occident, on distingue traditionnellement deux grands types de petit-déjeuner : le petit-déjeuner continental, et le petit déjeuner anglo-saxon. Le petit déjeuner continental est un repas sucré. Il est composé d'une boisson chaude (café, thé ou chocolat au lait) accompagnée de tartines (pain, beurre, confiture ou miel..., ou simplement pâtes à tartiner industrielles). Peuvent s'y adjoindre, surtout les jours fériés, des viennoiseries (croissant, pain au chocolat, brioche...), du jus d'orange, un yogourt ou des céréales sucrées (muesli ou créations des marques Kellogg's, Jordan's, Nestlé...).
Le petit déjeuner anglo-saxon est plus copieux, comprenant le plus souvent des œufs et de la charcuterie. Il peut prendre la forme d'un brunch pris en milieu de matinée qui tiendra lieu à la fois de repas du matin et de celui de midi.
Cette distinction reste cependant conventionnelle. En Allemagne par exemple, le petit-déjeuner est également copieux, il peut contenir des œufs à la coque, des charcuteries et des fromages à pâte cuite.
Midi





Le repas de midi s'appelle le déjeuner dans la plus grande partie de la France, mais, là où le terme déjeuner est réservé au repas du matin, on l'appelle le dîner. Il est généralement pris entre midi et treize heures.
En France, même si c'est le repas qui est le plus souvent pris en dehors du domicile familial, il garde encore souvent une structure traditionnelle avec une entrée, un plat principal et un fromage ou un dessert. Seul le plat principal est obligatoire, les autres dépendant de l'appétit et du budget de chacun. Du hors-d'œuvre au fromage, la plupart des Français consommeront du pain. Ce repas est traditionnellement accompagné de vin(s) ou de bière selon les lieux, cette consommation quotidienne de boissons alcoolisées étant de plus en plus souvent remplacée par de l'eau.
En Corée, le repas est souvent composé de soupe et d'un plat unique qui accompagne plus qu'il n'est accompagné par un nombre variable de banchan. Le riz blanc est le seul plat que les convenances indiquent de terminer obligatoirement.
Soir
En Amérique du Nord, ce repas est pris vers 18 h, plus tardivement en France, où, selon les régions, l'heure du dîner peut varier entre 18 h et plus de 20 h. Les pays qui réservent le terme de dîner au repas de midi désignent ce repas du soir comme le souper. Le souper était, en France, un repas léger pris en fin de soirée, dont l'usage est tombé en désuétude.
En France, le repas du soir est souvent comparable dans sa composition au repas de midi, quoique souvent plus frugal. Il est l'occasion de se retrouver en famille autour de la table.
En Allemagne, où le repas de midi est bien plus souvent pris à domicile, le repas du soir est plus frugal, composé de charcuteries et de salades.
Autre repas





Au Canada, on parle de collation pour désigner les légers repas entre les trois repas principaux. En France on parle aussi d'en-cas. Dans l'après-midi, le goûter ou quatre heures est un en-cas sucré généralisé chez les enfants. La consommation de pâtisseries avec un thé ou un café en milieu de journée est également répandue chez de nombreux adultes quand leurs occupations leur en laissent le loisir.
Ces en-cas, ont tendance à se multiplier, et les modes de vie urbains ne respectent parfois pas du tout les repas traditionnels.
Chaque repas peut être varié
Lieux
Les repas peuvent être pris chez soi ou à l'extérieur. Quand ils sont pris à la maison, les repas ont lieu, soit dans un pièce spécialisée : la salle à manger, soit de plus en plus souvent dans le lieu de préparation : la cuisine.
A l'extérieur, ils peuvent être pris dans des établissement spécialisés, les restaurants, ou se composer de préparations spéciales destinées à être mangées sur le pouce. Il existe également des lieux de restaurations collectives destinées aux personnes qui mangent fréquemment en dehors de leur domiciles: les cantines scolaires ou d'entreprises ou les restaurants universitaires par exemple.
Les repas peuvent également être pris à l'extérieur, sous forme de pique-nique.
Ustensiles
Les principaux ustensiles pour manipuler les aliments sont la fourchette, ou les baguettes en Asie, pour les aliments solides et la cuillère pour les liquides. Dans de nombreux pays d'Afrique, il est de coutume de manger tous ensemble dans un plat commun. Chaque convive peut y puiser les aliments de la main droite, l'autre main étant considérée comme impure car réservée par exemple à l'hygiène corporelle.
Sur les tables les plus sophistiquées, la mise de table peut être très complexe, chaque convive devant gérer plus d'une vingtaine d'accessoires multiples : verres à eau ou à vin, assiettes plates ou creuses pour les entrées, couteaux à viande ou à poisson, assiettes plates ou creuses pour les plats principaux, fourchettes à trois ou quatre dents, cuillères à soupe, à café ou à dessert, serviettes ou encore ustensiles spécifiques
Rituels
Autrefois, non seulement le plan de table, mais l'ordre du service ainsi que nombre d'autres attitudes étaient extrêmement formalisés en fonction de la hiérarchie des convives. Les repas occupaient ainsi une place de choix dans les guides de bonnes manières du XIXe siècle, période charnière pendant laquelle le service à la russe remplace le service à la française et permettant le service à la place et obligeant les convives à manger le même plat en même temps.
Aujourd'hui, les mœurs se sont sensiblement libéralisées, mais le repas reste tout de même l'une des activités quotidiennes les plus codifiées.
Il est par exemple de coutume de se souhaiter un bon appétit au début du repas ou de ne pas se lever de table sans raison précise ou suivant les pays, de mettre les mains sur la table (France) ou sous la table (Royaume-Uni) entre les plats.
Il existe également des rituels religieux liés au repas. Par exemple, les chrétiens lui ont réservé deux prières : le benedicite avant le repas et les grâces à la fin.
En outre, les repas jouent un rôle important dans la symbolique chrétienne pour exprimer le partage, la communion, et avec une correspondance spirituelle.

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2550

วันเกิดใครหว่า +___________+



HAPPY BIRTH DAY TO แย้...AND...นุ๊ก
วันนี้ในห้องของ 5/6 ได้มีการเลี้ยงฉลองวันเกิดของแย้(ส้ม)และนุ๊ก โดยที่ห้องเราได้รวมเงินกันซื้อเค้กช๊อกโกแล็ตให้
เพื่อนทั้งสองและพวกเราก็ได้ทำเซออร์ไพร์เปาเค้กให้เพื่อนในคาบวิทยาศาสตร์ซึ่งพวกเราก็สนุกเฮฮาโดยมีเพื่อนส้ม เพื่อนนุ๊กยืนซึ้งอยู่ แต่พออาจารย์นุบอกพวกเราว่าสอบเท่านั้นแหล่ะ ความสนุกนั้นก็ได้หายไปในพริบตา(*_*") แต่ขอโทษข้อสอบเนี้ยะทำง่ายสบายๆ (อ้าวเห็นได้ข่าวว่าเธอลอกของคนอื่นมาไม่ใช่เหรอสาวยุ้ย) พอมาถึงคาบยืดหยุ่นของอาจารย์โขนซึ่งเป็นคาบที่สี่ก่อนกินข้าวเราก็ได้เล่นกันอย่างสนุกสนานแต่พอหมดคาบเท่านั้นแหล่ะเค้กหลังห้องก็ถูกเขมิบโดยอีแร้งทั้งหลาย(แน่นอนว่าต้องมีเรารวมอยู่ด้วย อิ อิ)โดยมีเพื่อนเมย์ผู้ใจดี(แน่ใจหรือ!)เป็นคนตัดเค้ก พอกินกันเสร็จก็มีเพื่อนๆกวาดเศษเค้กที่หล่นหกเลอะเทอะบนพื้น(แต่เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจเป็นอย่างมากเพราะไม่มีใครเห็นฉันกวาดเลยทั้งๆที่ฉันคิดว่าก็ช่วยนะ เอ๊ะ!หรือมันเป็นภาพหลวงตา ฮะ ฮะ)พอทำความสะอาดกันเสร็จก็ลงไปกินข้าวกับเพื่อนๆ
พอหมดเวลาพักเราก็ต้องไปเรียนคาบแนะแนวพออาจารย์มาสอนสักพักฝนก็แห่กันตกลงมาอย่างหนักมากๆๆๆ หรือนี่เป็นเพราะวันเกิดของแย้กันล่ะเนี่ย (แหม..ล้อเล่นนะอย่าคิดมาก)

แมวเหมียว.. ''~_~''













QUI EST HELLO KITTY ?


Nom : Hello Kitty
Date de naissance : 1er novembre 1974

Hello Kitty habite à Londres, en Angleterre, avec ses parents et sa soeur jumelle, Mimmy. Elle a beaucoup d'ami(e)s, adore voyager, la musique, la lecture, manger de délicieux cookies et surtout se faire plein d'ami(e)s.


Nom : Mimmy
Date de naissance : 1er novembre 1974

Mimmy est la soeur jumelle de Kitty. Elle est très timide ce qui n'empêche pas d'accompagner sa soeur dans de merveilleuses aventures. Elle porte un ruban sur son oreille gauche, ce qui l'a différencie de Kitty.


Nom : Mary White
Anniversaire : 17 septembre

Mary White est la maman de Kitty & Mimmy. Gentille et attentionnée, elle adore cuisiner et s'occuper de sa maison. Sa tarte aux pommes est délicieuse.


Nom : George White
Anniversaire : 3 juin

George White est le papa de Kitty & Mimmy. Bien que travailleur assidu, il a un bon sens de l'humour. Il est aussi parfois rêveur.


Nom : Margaret White
Anniversaire : 31 mars

La grand-mère passe son temps à cuisiner du pudding et adore broder dans son rocking-chair.


Nom : Anthony White
Anniversaire : 25 octobre

Le grand-père de Kitty & Mimmy est un excellent peindre. Il est très cultivée et racontent toujours de formidables histoires.

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ArT *_* \\ >_<

Peut-on encore prendre l'art au sérieux ?





Un mot suffira au poète pour unir deux idées en apparence étrangères, en révéler la secrète accointance. La pensée abstraite est unidimensionnelle, l'art est multidimensionnel. « L'artiste, explique Paul Valéry, a accumulé, au moyen de la matière, une pluralité de pensées abstraites, d'actes simples. Mais une même chose en résulte. » C'est dire que l'art fait crédit à notre intelligence, lui présente d'emblée l'unité radicale du monde qu'elle ne peut quant à elle construire que pas à pas, péniblement, indéfiniment. On dira bien sûr que ce triomphe facile est illusoire, que l'artiste prend l'unité propre de son esprit, ou de son corps, pour la structure du réel, que sa pensée est donc plus magique que rationnelle. On peut même défendre l'idée que l'esthétique naît avec cette déception, qui permet de distinguer l'art, jeu subjectif de l'esprit avec lui même, du sérieux de la philosophie et des sciences. (voir l'article avant-garde.) L'art ne peut être considéré comme une réalité à part entière qu'avec sa désacralisation. Le Beau n'est ni le Vrai ni le Bien. Ainsi, l'art naîtrait au moment même où il devient un héritage du passé (Hegel).

On peut pourtant, comme Paul Valéry, souligner les affinités du Beau et de la vérité formelle des mathématiques. Une œuvre est un univers fermé, qui vaut en soi, avec ses lois propres ; elle constitue le lieu de différentes variations et transformations, analogues finalement aux propriétés d'un ensemble mathématique. Mais n'est-ce pas surtout constater que les mathématiques sont elles aussi un jeu ?

L'art a, sur le plan éthique, à voir avec l'idée de maîtrise de soi, d'indépendance et de distance à l'égard des passions. Non que l'art ignore les passions, mais plutôt parce qu'il les sublime et les donne à voir (voir Croce). Il ne s'agit pas de nier la foule de nos perceptions et de nos désirs, mais de les intégrer dans un tout, quand ils menaçaient notre unité. À lire Alain, le chant triomphe du cri, la danse de la passion; ces mauvais plis ne sont plus que les touches d'un instrument que nous effleurons librement. La mélopée transforme la peine, qui nous déchire, en un bel objet symétrique. L'œuvre d'art prend au piège les passions, révèle ce qu'il y a en elles d'éternel, en fait la matière d'une sorte de géométrie ou d'algèbre. L'art n'est donc certainement pas effusion passionnelle. Il est affirmation de la liberté du jeu au sein de la passion, par là même distanciation. Comme l'humour, il dépersonnalise la passion, la donne à voir du point de vue d'un être qui lui serait étranger. Ainsi la tragédie nous permet de contempler l'existence des hommes, leur agitation, comme au passé, c'est-à-dire du point de vue des Dieux. Pour autant, nous ne devenons pas étrangers aux passions, par exemple à la peur de la mort. C'est d'elles que le spectacle tire sa puissance de fascination. Aristote est l'inventeur de la théorie de la catharsis, selon laquelle l'art permettrait la purgation, la purge, de nos passions.

Si la notion de « beau » artistique qui a dominé l'histoire de l'art, depuis Platon jusqu'à Hegel a perdu aujourd'hui de sa reconnaissance, l’art cherche néanmoins toujours à utiliser le monde des sens pour pénétrer dans le monde de l’esprit, ou peut-être même dans celui de l’âme. Ce faisant, l’immanent point derrière le permanent. L'artiste tente de prouver que le potentiel humain ne se réduit pas à la transformation, mais qu’il a conquis la dimension de la création. Dans ce sens tourné vers l'esthétique, l'art est une représentation particulière, personnelle, de la nature (entre physique et métaphysique), d'un sentiment, du sacré… mais aussi, tout simplement d'un inconscient surgi spontanément, voire consciemment (hypothèse du profondis).

La notion de « représentation » prend alors un sens tout particulier si l'on veut saisir le sens de l'œuvre d'art, et son rapport à la beauté. L'œuvre de l'art est une forme de « re-présentation », c’est-à-dire qu'elle présente autrement la réalité de l'univers. L'œuvre d'art ne vit pas de son rapport plus ou moins adéquat au réel, mais des affects qu'elle produit ; par exemple, les toiles de Munch ne représentent pas une forme de tristesse, mais produisent un sentiment, une émotion, qui pour certains s'appelle la tristesse, pour d'autres l'abomination. C'est peut-être parce qu'elle est productrice d'affects, et qu'elle est à elle seule un « univers », que l'œuvre d'art est belle (l'art contemporain est beau quand on a accroché à l'initiation que l'artiste cherche à nous procurer).

C'est la grande difficulté des arts de notre époque : ils sont souvent liés par des directions intellectuelles et des expérimentations qui ne peuvent pas être lisibles directement et sans connaissance de leur genèse: ce sont des friches de découvertes qui deviendront peut-être de vraies œuvres aux yeux des machines humanisées (post-futurisme).

Jamais une œuvre jeune n'est comprise sans avoir assimilé sa généalogie. Cependant on remarquera que le terme d'"art" est trop couramment appliqué à toute médiatisation spectaculaire, et cela à son détriment.

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สุนทรภู่....

ในตอนนี้ก็ใกล้ถึงวันสุนทรภู่แล้ว เราก็เลยอยากจะมาทำอะไรเกี่ยวกับสุนทรภู่หน่อย....เอ้า!!มาดูกันเลย

ประวัติสุนทรภู่

สุนทรภู่เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาประมาณ ๘.๐๐ น. ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี เเละทำหน้าที่เป็นแม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ส่วนบิดานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ อำเภอเเกลง จังหวัดระยอง เมื่อสุนทรภู่โตพอสมควร มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ครั้นมีความรู้ดีเเล้ว มารดานำไปฝากเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง เเต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปเป็นเสมียน สุนทรภู่รับราชการไม่ก้าวหน้านัก เพราะติดนิสัยรักกาพย์กลอน กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นที่โปรดปรานให้เป็น "ขุนสุนทรโวหาร" ( ภู่ ) เรียกกันสั้นๆ ว่า "สุนทรภู่ " ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น " พระสุนทรโวหาร " เเละถึงเเก่กรรมเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุได้ ๗๐ ปี

ผลงาน
หนังสือบทกลอนที่สุนทรภู่เเต่งมีมากมาย ที่ได้ยินเเต่ชื่อเรื่องยังหาฉบับไม่พบก็มี ที่หายสาบสูญไปเเล้วไม่ได้ยินชื่อเรื่องก็มี เเต่เรื่องที่ยังมีต้นฉบับอยู่ในปัจจุบันมี ๒๔ เรื่อง คือ - นิราศ ๙ เรื่อง ได้เเก่ นิราศเมืองเเกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระเเท่นดงรัง นิราศพระปฐม เเละนิราศเมืองเพชรบุรี - นิทาน ๕ เรื่อง ได้เเก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ เเละ สิงหไตรภพ - สุภาษิต ๓ เรื่อง ได้เเก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท เเละสุภาษิตสอนหญิง - บทละคร ๑ เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช - บทเสภา ๒ เรื่อง ได้เเก่ ขุนช้างขุนเเผน ตอนกำเนิดพลายงาม เเละเรื่องพระราชพงศาวดาร - บทเห่กล่อม ๔ เรื่อง ได้เเก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี เเละเห่เรื่องโคบุตร

สุนทรภู่ จินตกวีผู้ปั้น“พระอภัยมณี”
ในบรรดากวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ “สุนทรภู่” ได้ชื่อว่า เป็นกวีเอกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่กล่าวขวัญกันมากที่สุดคนหนึ่ง โดยเฉพาะผลงานเรื่อง“พระอภัยมณี”นับเป็นงานชิ้นเอกที่มีการนำไปเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆมากมาย รวมทั้งมีการวิเคราะห์เจาะลึกแทบทุกแง่ทุกมุม เพราะเป็นกวีนิพนธ์ที่มีความยาวถึง ๙๔ เล่มสมุดไทย (สมุดที่ทำด้วยกระดาษข่อย แผ่นยาวๆ หน้าแคบ พับทบไปทบมาคล้ายผ้าจีบ) เรียกได้ว่ายาวที่สุดในโลกก็ว่าได้ ข้อสำคัญคือ เป็น “จินตนิยาย” ที่มิได้นำมาจากชาดก หรือนิทานพื้นบ้านอย่างที่วรรณคดีไทยส่วนใหญ่นิยมเขียนกัน แต่กลับมีเค้าโครงเรื่องที่แปลกและล้ำยุคยิ่ง ตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่องล้วนชวนตื่นเต้น เร้าใจให้ติดตามอ่านอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะพระเอกของเรื่องคือ”พระอภัยมณี”
“พระอภัยมณี”ของท่านสุนทรภู่นับเป็นพระเอกที่แหวกไปจากขนบของพระเอกทั้งหลายในยุคนั้น ด้วยว่าพระเอกอื่นๆในวรรณคดีส่วนใหญ่ ล้วนไปเรียนศิลปศาสตร์หรือพวกรัฐศาสตร์ไว้ปกครองบ้านเมืองทั้งนั้น แต่ “พ่ออภัยฯ” ของเรากลับไปเรียน “วิชาเป่าปี่” ซึ่งสมัยนี้จะว่าไปจบวิชา“ดุริยางคศิลป์”มาก็น่าจะได้ ดังนั้น“พระอภัยมณี” จึงถือได้ว่าเป็น“พระเอกนักดนตรีคนแรกของไทย”เป็น“พระเอกศิลปิน”ที่ท่านสุนทรภู่ปั้น ไว้ประดับวงการวรรณคดีไทยเป็นคนแรก และน่าจะเป็นคนเดียวด้วย เพราะวรรณคดีสมัยหลังๆก็ยังไม่ปรากฏว่ามีพระเอกศิลปินนักดนตรีคนใดอีก กล่าวได้ว่าจินตนาการและแนวคิดในการสร้างพระเอกของท่านล้ำหน้า ก้าวไกลเกินยุคเมื่อ ๒๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา
เพราะถ้า “พระอภัยมณี” เกิดสมัยนี้ ต้องเป็นศิลปินที่ดังระเบิดไม่แพ้แดนหรือบีม และคงเป็นที่ “กรี๊ดสลบ”ของสาวแก่แม่ม่ายหรือแม้แต่หนุ่มด้วยกันเองเป็นแน่ ด้วยว่าเป็นพระเอกที่ครบสูตรเพียบพร้อมด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิและชาติวุฒิคือ เป็นหนุ่มหน้าตาหล่อเหลา จบนอก(เพราะไปศึกษาต่างแดน) และเป็นลูกเจ้าเมือง ฐานะไม่ต้องพูดถึง แม้ชีวิตต้องระหกระเหินพราะพระบิดาขับไล่ออกจากเมืองรัตนาพร้อม ”ศรีสุวรรณ” พระอนุชาก็ตาม แต่ภายหลังก็ได้เป็นกษัตริย์ครอบครองบ้านเมือง นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระเอกที่เจ้าเสน่ห์ไม่แพ้พระเอกอื่นๆในวรรณคดีเลย เพราะมีเมียถึง ๕ คน เมียแต่ละคนก็มีบุคลิกลักษณะที่ไม่เหมือนใครดังจะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไป
ก่อนอื่น ขอเท้าความให้เห็นก่อนว่าเหตุใดพระอภัยมณี พระเอกของเราจึงได้ลงเรียนวิชาเป่าปี่ ซึ่งต้องเดินทางไปเรียนกับ พิณทพราหมณ์ ณ หมู่บ้านจันตคาม ซึ่งโดยส่วนตัวพระอภัยมณีเองก็คงเห็นว่าการเรียนวิชาดนตรีนั้นช่วยให้ดับทุกข์โศกได้ ดังกลอนที่ว่า“ถึงการเล่นเป็นที่ประโลมโลก ได้ดับโศกสูญหายทั้งชายหญิง” ดังนั้น เมื่อครูพราหมณ์บรรยายสรรพคุณของวิชาเป่าปี่ให้ฟังซ้ำอีก ก็ยิ่งมั่นใจอยากเรียนยิ่งขึ้น โดยครูบอกว่า “แล้วพาไปยอดเขาให้เป่าปี่ ที่อย่างดีสิ่งใดก็ได้สิ้น แต่เสือช้างกลางไพรถ้าได้ยินก็ลืมกินน้ำหญ้าเข้ามาฟัง”
นอกจากนี้ “ถ้าแม้นว่าข้าศึกมันโจมจับ จะรบรับสารพัดให้ขัดสน เอาปี่เป่าเล้าโลมน้ำใจคน ด้วยเล่ห์กลโลกาห้าประการ คือรูปรสกลิ่นเสียงเคียงสัมผัส เกิดกำหนัดลุ่มหลงในสงสาร ให้ใจอ่อนนอนหลับดังวายปราณ จึงคิดอ่านเอาชัยเหมือนใจจง” เรียกว่าเรียนวิชานี้อย่าว่าแต่สัตว์จะเคลิ้มจนลืมกินน้ำกินหญ้าเลย แม้แต่ใช้สะกดทัพก็ยังได้ ครั้นเรียนจบกลับเมือง ถูกพระบิดาขับไล่ออกมาเพราะเห็นว่าวิชาที่สองพี่น้องไปเรียนไม่สมฐานะ ไปเจอสามพราหณ์ระหว่างทางที่พเนจรและสงสัยในวิชาเป่าปี่ พระอภัยมณีก็ยังมั่นใจในวิชาที่เรียนมา
โดยบรรยายว่า “อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป ย่อมใช้ได้ดั่งจินดาค่าบุรินทร์ ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช จตุบาทกลางป่า พนาสิน แม้ปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน ก็สุดสิ้นโทโสที่โกรธา ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์ จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง” ถ้าเป็นสมัยนี้คงไม่ต้องบรรยายมาก เพราะการเรียน “ดนตรี” มิใช่วิชา “เต้นกินรำกิน” อย่างที่คนสมัยก่อนดูถูกแล้ว แต่กลับเป็นหนทางก้าวหน้าและทำให้หลายคนได้เป็นดารานักร้องนักแสดงระดับแนวหน้าของประเทศด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี สมัยโน้น การเรียนวิชาดนตรีส่วนใหญ่จะเรื่องของพวกผู้หญิงชาววังและพวกที่ต้องแสดงถวายมากกว่าจะเป็นวิชาของลูกกษัตริย์ ดังนั้น พระอภัยมณีจึงถูกพ่อกริ้ว แม้ว่าวิชาปี่ที่เรียนจะไม่ธรรมดาก็ตาม แต่ก็คงไม่ทันได้อธิบายความก็โดนไล่มาเสียก่อน
ในระหว่างเป่าปี่ให้สามพราหมณ์และศรีสุวรรณฟังจนเคลิ้มหลับไปนี่เอง เสียงปี่ของพระอภัยมณีก็ล่องลอยไปกระทบหูนางผีเสื้อสมุทร ซึ่งออกมาหากิน จนนางตามเสียงปี่ไปเจอพระเอกของเราเข้า ก็เกิดอาการ“ปิ๊ง” ขึ้นมาทันที แสดงว่าพระอภัยฯต้องหล่อ “โดนใจ”ไม่น้อย ไม่งั้นนางคงไม่อุ้มพระอภัยมณีไปเป็นสามีในถ้ำทองของนาง จนเกิด “สินสมุทร” ในเวลาต่อมาแน่ นางผีเสื้อสมุทรจึงนับเป็นเมียคนแรกของพระอภัยมณี แม้จะไม่เป็นที่ยินยอมพร้อมใจในตอนแรกเท่าไรนัก (นี่ก็อาจเป็นที่มาของการเรียกเมียที่บ้านเวลาไม่พอใจว่า“นางผีสมุทร” ก็ได้ ช่างว่านัก!)
อย่างไรก็ดี เนื่องจากวิชาเป่าปี่ที่พระอภัยมณีไปเรียนมานี้ มิใช่วิชาดนตรีธรรมดาทั่วไป ดังนั้น พระอภัยมณีพระเอกศิลปินเราจึงมิได้เป่าอย่างพร่ำเพรื่อ เรียกว่าเปิดคอนเสิร์ตปี่แต่ละครั้ง ล้วนมีจุดมุ่งหมายโดยเฉพาะ ซึ่งตามท้องเรื่องจะเป่าปี่ประมาณ ๑๒ ครั้ง ได้แก่ ครั้งแรกที่เป่าบรรยายให้สามพราหมณ์ฟัง จนนางผีเสื้อสมุทรเอาไปเป็นสามี ครั้นต่อมาเมื่อหนีนางผีสมุทรมาอยู่เกาะแก้วพิศดารก็ได้นางเงือกเป็นเมียอีกคน พร้อมลูกคือ”สุดสาคร”
ต่อมาได้ ถูกนางผีเสื้อสมุทรไล่ตามอาละวาด พระอภัยมณีได้พยายามขับไล่ให้กลับไป แต่นางไม่ยอม จึงจำเป็นต้องเป่าปี่เป็นครั้งที่สอง ซึ่งเสียงเพลงคงบีบคั้นหัวใจไม่น้อย นางจึงขาดใจตายไปต่อหน้าต่อตา ส่วนการเป่าในครั้งต่อๆมาส่วนใหญ่จะเพื่อปลุกทัพหรือสะกดทัพให้ได้ชัยชนะต่อศัตรู
รวมทั้งมีการเป่าปี่เพื่ออ้อนสาว คือ นางละเวง ด้วย ซึ่งเสียงปี่ของพระอภัยมณีตอนจีบนางละเวงนี้ ทำให้นางถึงกับ “ตะลึงลืมปลื้มอารมณ์ไม่สมประดี ด้วยเพลงปี่เป่าเชิญให้เพลินใจ จนลืมองค์หลงรักชักสินธพ(ม้า) กลับมาพบพิศวงด้วยหลงใหล” และยังว่า “ถ้าขืนอยู่สู้อีกไม่หลีกเลี่ยง ฉวยพลั้งเพลี้ยงเพลงปี่ต้องมีผัว” แสดงเพลงปี่ของพระเอกเราคงมีอิทธิพลต่อผู้ฟังไม่น้อยเลยทีเดียว
สำหรับเมียพระอภัยมณี ที่ว่ามีด้วยกัน ๕ คนและแต่ละคนก็ต่างกันอย่างมากนั้น ได้แก่ นางผีเสื้อสมุทรเป็นเมียคนแรกที่เป็นยักษ์ ส่วน นางเงือก เป็นเมียที่สอง นางสุวรรณมาลีเป็นเมียคนที่สาม แต่เป็นเมียมนุษย์คนแรก ส่วนนางละเวงวัณลา เป็นเมียคนที่สี่และเป็นชาวต่างชาติ นางวาลีเป็นเมียคนที่ห้าซึ่งเป็นเมียที่ขี้เหร่ที่สุด แต่เดิมพระอภัยมณีก็มิได้อยากได้นาง
แต่นางเป็นคนเจ้าปัญญาและมีวาจาเป็นเลิศ สามารถพูดให้นางสุวรรณมาลีแต่งกับพระอภัยมณี และพูดจนอุศเรนอกแตกตายได้ ข้อสำคัญคือสามารถหว่านล้อมพระอภัยมณีจนใจอ่อนยอมรับนางเป็นชายาอีกคน อย่างไรก็ดี การมีเมียถึง ๕ คน ซึ่งมีทั้งสวยแปลง สวยแปลก สวยงาม สวยต่างแดน และสวยปัญญาเช่นนี้ ก็ย่อมแสดงว่า “พระอภัยมณี” มีเสน่ห์ไม่เบา ถึงเป็นขวัญใจสาวๆทั้งยักษ์ เงือกและมนุษย์อย่างที่ว่า
“พระอภัยมณี” ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทนิทานคำกลอน และเป็น “จินตนิยาย”ที่แสดงให้เห็นถึงจินตนาการที่กว้างไกลอันล้ำยุค เกินสมัยยิ่งของ “สุนทรภู่ ดังนั้น ในโอกาสครบรอบ ๒๑๙ ปีเกิดของท่านในวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๘ อันเป็น “วันสุนทรภู่” นี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนให้หน่วยงาน สถานศึกษาและสถาบันที่เกี่ยวข้องได้จัดกิจกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นการประชุม อภิปราย นิทรรศการ การแสดง การประกวดแข่งขัน ฯลฯเกี่ยวกับผลงานของท่าน เพื่อให้ประชาชน เยาวชนได้ทราบและเรียนรู้การใช้ภาษาไทยที่ลึกซึ้ง ไพเราะ มีคติสอนใจ
ข้อสำคัญเพื่อน้อมรำลึกถึง “สุนทรภู่ รัตนกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์” บรมครูกลอนแปด กวีเอกของไทยที่มีความสามารถไม่รองชาติใดในโลก ผู้ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกว่าเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกคนหนึ่ง

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Life Today

เดิน เดิน เดินแล้วก็เดิน...

วันนี้เราและเพื่อนๆได้เข้ากรุงเทพกันมาด้วย เพื่อนๆในที่นี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหนหรอกนะก็มี ส้ม แอม อ้อม ออย บี ออม เม บิว
ที่ๆ แรกเลยที่เราจะไปก็คือ ประตูน้ำ เราก็ได้เดินทั่วหมดเลย อยากจะบอกว่าเหนื่อยมากๆๆๆๆๆๆ พอเดินเสร็จก็ได้แวะกินข้าวที่ แพตตินัมพอกินเสร็จก็ไปเดินที่วังหลังต่อ ตอนนั้นก็ประมาณบ่ายสองโมงพอถึงก็เดินกันอีก( เดินเดินเดินแล้วก็เดิน )พอเดินเสร็จซื้ออะไรเสร็จเราก็ต่อด้วยการไปเดินเซ็นทรัลปิ่นเกล้าพอเดินเหนื่อยก็แวะกินสเวนเซ่นส์พอกินเสร็จก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ( อย่างปลอดภัย )แต่!!! พอมาถึงบ้านคุณเพื่อนแพรก็ได้ชวนเราไปตลาดนัดบิ๊กซี เอาว่ะไปก็ไป พอไปถึงเดินอีกแล้วครับ
โอ๊ย!ชีวิตหนอชีวิตพอกลับมาถึงบ้านเท่านั้นแหล่ะหลับเป็นตาย

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550

วันวิสาขบูชา



วันวิสาขบูชา

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก

My Dream

ครั้งที่แล้วเราได้บอกไว้ว่าเราอยากเข้าเรียนอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับศิลปะ วันนี้เราเลยนำข้อมูลมาเสนอให้เพื่อนที่มีความฝันเหมือนเรา ตามเรามาเลย...!!!!


...การออกแบบ ( Design ) ...
การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น
สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม
ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง
แผนการทำงานก็ได้
2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ
ตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ
ระหว่างกัน
3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย
ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น
หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด
4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต
เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน
หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง

แบบ เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ
นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures)
หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง ภาพพิมพ์
(Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ
เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ
2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง
รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้
สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้
เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหา
ข้อบกพร่องได้
ประเภทของการออกแบบ
1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ
การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง
โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว
กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่
- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
- สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
- สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
- งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ
เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
- งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ
ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ

2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์
ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย
หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ
ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- งานออกแบบครุภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
- งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
- งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
- งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
- งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ

3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้
ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ
ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงาน
ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
- งานออกแบบเครื่องยนต์
- งานออกแบบเครื่องจักรกล
- งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
- งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ



4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ
ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร
(Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานตกแต่งภายใน (Interior Design)
- งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design)
- งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)
- งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- การจัดบอร์ด
- การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ


5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์
ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า
งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550

จะไหวไหมเนี่ย...เรา +_+!!!

เฮ้อ..เมื่อวานเราไปเรียนวาดรูปที่ ม.ศิลปากรมาแล้วเหมือนเราจะวาดรูปไม่ค่อยดี (แหม..ก็เธอไม่ตั้งใจเองนิ) เลยเหมือนโดนพี่เค้าจะดุเอาเราเลยหนีกลับบ้านก่อนซะนี่ เฮ้ออย่างนี้เราจะเข้ามัณฑนศิลป์ได้เปล่าเนี่ย อยากเข้าได้จังยิ่ง ม.ศิลปากร ด้วยนะอยากเข้าสุดๆ ( ขอเน้นว่าอยากเข้าสุด ๆๆๆๆ )ต่อไปนี้เราคงต้องตั้งใจจริงแล้วล่ะ...-.-"

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550

Paris Hilton



Paris Hilton "relookée" par la prison ?

L'entourage de Paris Hilton, condamnée à 45 jours de prison pour avoir conduit malgré un permis de conduire suspendu, croit que l'emprisonnement sera bon pour elle. Mais pour de drôles de raisons ! En effet, les amis de la jeune héritière pensent qu’elle perdra du poids, gagnera plus de «classe» et sera encore plus belle après son séjour en prison ! Le designer de mode Alvin Valley, un ami de la star, aurait affirmé : «La prison sera la meilleure chose qui ne sera jamais arrivée à Paris Hilton !» Un autre copain de Paris aurait déclaré : «Ça va la rendre plus célèbre que jamais. En prison, elle deviendra mince et enviable, et sans aucun maquillage ou produits, ses cheveux et sa peau pourront enfin respirer…» Mais tout le monde n'est pas convaincu que cette expérience sera bénéfique pour la jeune femme de 26 ans. L'écrivain David Patrick, un ami très proche de la famille Hilton, craint que cette incarcération ruine la carrière de la star. Il aurait révélé au magazine Style : «Boire et conduire est un délit très sérieux. Les gens en meurent. La prison est un tout autre jeu que le feuilleton que nous avons tant aimé regardé jusqu'à maintenant. Je pense que nous pourrions être témoins de la fin de Paris Hilton».